이:가 และ 은:는 คืออะไร ต่างกันอย่างไร?
สามสิ่งนี้เป็นข้อควรจำ ซึ่งเป็นการแบ่งแบบง่ายๆ และใช้ได้จริง
เห็นอย่างนี้แล้วเราก็นำไปใช้ได้อย่างสบายเลยใช่มั้ยล่ะ
제가 저는 ต่างกันยังไง
내가 나는 ให้การเน้นย้ำแตกต่างกันมั้ย?
ยังมีคนสงสัยอยู่ใช่มั้ย ว่า 이 가 은 는 มันต่างกันอย่างไร
วันนี้เราจะมาสรุปประเด็นหลักๆ ในการแยก 이 가 ออกจาก 은 는 กัน
ตำแหน่งของตัวชี้
~이 วางไว้หลังคำนามที่มีตัวสะกด
~가 วางไว้หลังคำนามที่ไม่มีตัวสะกด
~은 วางไว้หลังคำนามที่มีตัวสะกด
~는 วางไว้หลังคำนามที่ไม่มีตัวสะกด
แยกเป็นสองคู่แบบนี้
ขอการจำแบบง่ายๆ ได้มั้ย?
ได้สิ! จัดให้ วันนี้เราแยกแบบง่ายๆ ได้เป็น 3 แบบด้วยกัน
1. ~은/는 ทำอะไร
~이/가 ใครเป็นคนทำ
~은/는 ใช้เมื่อต้องการโฟกัสที่ “การกระทำ” ของประโยค
~이/가 ใช้เมื่อต้องการโฟกัสที่ “ผู้กระทำ” ในประโยคนั้นๆ
เช่น
대휘 : 케이크를 누가 만들었는데?
แทฮวี : (ใครเป็นคำทำเค้กอ่ะ?)
우진 : 김재활이 만들었어.
อูจิน : (คิมแจฮวัลเป็นคนทำ)
*누가:เน้นย้ำตัวผู้กระทำ ว่าใครเป็นผู้ที่ทำเค้ก
종인 : 어머! 나도 이 영화를 봐야 되겠다. 백현은 안 봐?
จงอิน : (เอ้ย! ฉันก็ต้องดูหนังเรื่องนี้ แบคฮยอนไม่ดูเหรอ?)
찬열 : 백현은 좀 늦는데…
ชานยอล : (แบคฮยอนจะมาช้านิดนึงอ่ะ)
*백현은:เน้นย้ำการกระทำ ว่าแบคฮยอนเป็นผู้ที่มาสาย
2. ในบทความ ~이/가 มาก่อน
~은/는 มาทีหลัง
เมื่อเขียนบทความหรือมีเรื่องเล่า เนื้อหายาวๆ
~이/가 จะใช้ชี้เมื่อคำนามนั้นๆ ออกมาครั้งแรก
~은/는 จะใช้ชี้เพื่อกล่าวถึงคำนามเดิมซ้ำเป็นคร้ังที่สองหรือสาม
เช่น
마크가 뱀뱀을 불렀습니다. 마크는 뱀뱀의 잘잘못을 지적했습니다.
연습한 후, 마크는 뱀뱀을 다시 만나고 밥을 같이 먹었습니다.
(มาร์คเรียกแบมแบมออกมา มาร์คได้ตำหนิเรื่องความผิดของแบมแบม
หลังจากซ้อมเสร็จ มาร์คพบกับแบมแบมอีกครั้ง และไปกินข้าวด้วยกัน)
สรุปว่าสองคนนี้คืนดีกันแล้วนะคะ ♡
และจากรูปประโยคจะเป็นว่า 마크 ที่ปรากฎครั้งแรกนั้นใช้ ~가
และ 마크 ในครั้งที่สองและสามนั้นใช้ ~는
3. ~은/는 ใช้ในการเปรียบเทียบ
เช่น
정국은 지민은 좋아하지만 뷔